ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด Facebook Youtube Twitter Google+
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
  • หน้าแรก
  • ที่พักหมาพักได้
  • ข่าว
  • วิธีดูแล
  • รู้ทันโรค
  • ภาพน่ารัก
  • สินค้าหมาแมว
  • ค้นหา
  • บอร์ด
  • ติดต่อโฆษณา
Pet Friendly hotel Thailand 2023 ที่พักสัตว์เลี้ยงพักได้ ที่พักสุนัขพักได้ ที่พักหมาแมวพักได้ ทั่วไทย › Dog_แนะนำ เกี่ยวกับหมาหมา › รู้ทันโรค สัตว์เลี้ยง »ไข้น้ำนมในสุนัข ภาวะแคลเซี ...
โพสต์เรื่องใหม่
กลับไป

ไข้น้ำนมในสุนัข ภาวะแคลเซียมในกระแสเลือดต่ำ (Eclampsis )

โพสต์โดย: admin | เมื่อ: 2011-1-14 18:16| เปิดอ่าน: 11513| ความคิดเห็น: 0

admin โพสต์ 2011-1-14 18:16:27 | ดูโพสต์ทั้งหมด |โหมดอ่าน
เสื้อหมา เสื้อแมว รถเข็นหมา รถเข็นแมว
Eclampsis หรือโรคไข้น้ำนมในสุนัข

2006-12-26_020902_proimg_00083_349.jpg

โรคไข้น้ำนมหรือเรียกว่าเป็นภาวะมีแคลเซียมในกระแสเลือดต่ำ เป็นภาวะฉุกเฉินยิ่ง โดยมักพบในสุนัขมากกว่าในแมว มักแสดงอาการเด่นชัดที่กล้ามเนื้อทั่วร่างกาย สั่น หอบ ตากระตุกและเดินไม่สัมพันธ์กัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิสูงตามมาจากการสั่นของกล้ามเนื้อ โดยมักจะพบในสุนัขหลังคลอดลูกแล้วที่ให้น้ำนมในปริมาณมาก ก็จะสูญเสียแคลเซียมในร่างกายไปกับน้ำนมด้วย

อาการ : กล้ามเนื้อกระตุก สั่น หอบ ชักเกร็ง เดินไม่สัมพันธ์กัน มีไข้สูงอาจถึง 106 องศาฟาเรนไฮต์

สาเหตุ : ภาวะแคลเซียมในกระแสเลือดต่ำเนื่องจาก

– ภาวะขาดสารอาหาร
– ปริมาณอัลบูมินในกระแสเลือดต่ำ
– โรคที่เกี่ยวกับต่อมพาราไทรอยด์
– ให้น้ำนมในปริมาณมาก แม่สุนัขที่มีลูกปริมาณมากความต้องการน้ำนมจึงมากขึ้นตามไปด้วย ในวันที่สิบถึงสามสิบของการให้นม ความสามารถในการปรับระดับแคลเซียมในกระแสเลือดของแม่สุนัขจะน้อยลง แต่ลูกสุนัขก็มีความต้องการและความสามารถในการดูดนมในปริมาณมากขึ้น ทำให้แม่สุนัขไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอ ทำให้ระดับแคลเซียมในกระแสเลือดต่ำลง ซึ่งโดยปกติแล้วแคลเซียมมีความสำคัญต่อการส่งผ่านของกระแสประสาท และการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ดังนั้นจึงเกิดความผิดปกติขึ้นกับกล้ามเนื้อเมื่อระดับแคลเซียมต่ำ

การรักษา :
1. ให้แคลเซียมกลูโคเนตเข้าเส้นเลือดช้าๆด้วยความระมัดระวัง หากให้มากเกินอาจส่งผลให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ บ่อยครั้งที่อาจต้องทำ ECG ร่วมด้วยเพื่อเฝ้าระวังดูอัตราการเต้นหัวใจและความดันเลือด
2. ให้เดร็กโตสเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน หลังจากการกระตุก ชักที่กล้ามเนื้อจะใช้พลังงานจากกลูโคสหรือไกลโคเจนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับกลูโคสในกระแสเลือดต่ำลงด้วย เราจึงควรให้กลูโคสร่วมด้วย เนื่องจากกล้ามเนื้อสั่นและกระตุกทำให้อุณหูมิในร่างกายสูงขึ้นมาก โดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายประมาณ 101 ถึง 102 องศาฟาเรนไฮต์ โรคไข้น้ำนมอาจทำให้อุณหภูมิสูงถึง 107 องศาซึ่งอันตรายมากอาจทำให้เกิดการทำลายสมองอย่างถาวรได้
3. อาจให้ยาซึมอย่างอ่อนในกรณีเพื่อช่วยในการคลายกล้ามเนื้อ
4. cool pack ประคบเพื่อลดอุณหภูมิเข้าใกล้ระดับปกติที่สุด
pug_1.jpg
การป้องกัน :
1. ให้อาหารที่มีคุณภาพสูง แต่ไม่มากเกินความต้องการเพื่อเป็นแหล่งของแคลเซียม และวิตามินต่างๆ
2. เราสามารถป้องกันได้โดยการเสริมแคลเซียม ฟอสฟอรัสและวิตามินดี ในช่วงกลางของการตั้งท้องได้ ไม่ควรให้แต่แคลเซียมอย่างเดียว เพราะอาจเกิดความไม่สมดุลของระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสได้ ค่าปกติ ca:p 1.2 : 1
3. แนะนำให้นมผงสำหรับลูกสุนัขแทน
4. ควรหย่านมเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้
ตอบกลับ

ใช้ไอเท็ม รายงาน

  • ดันกระทู้
  • ปักหมุด
  • ล็อคกระทู้
  • คืนกระทู้
  • การ์ดสีสัน
  • การ์ดล่องหน
กลับไป
โหมดขั้นสูง
B Color Image Link Quote Code Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต




สารบัญเว็บไทย คำค้นยอดฮิต เพลงใหม่ ดารา คลิป Picpost โปรแกรมแต่งรูปสัตว์เลี้ยง วิธีเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เกมส์สัตว์เลี้ยง ดูดวงสัตว์เลี้ยง สูตรอาหารสัตว์เลี้ยง ประวัติสายพันธุ์สุนัข โรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงเปิด24ชม. โรคสัตว์เลี้ยง รับฝากเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ร้านอาหารสัตว์เลี้ยงเข้าได้ โรงแรมสุนัขพักได้ ทั่วประเทศ ติดต่อโฆษณา แจ้งปัญหาการใช้งาน รูปแบบข้อความล้วน ใช้งานบนสมาร์ทโฟน สถิติเว็บไซต์
ติดต่อทีมงาน dogthailand.net
admin@dogthailand.net Tel.0909757272 Facebook.com/dogthailand Twitter.com/dogthailand ติดต่อโฆษณา

รายชื่อผู้ถูกระงับบัญชี|โทรศัพท์มือถือ|dogthailand.net

เว็บแนะนำที่พักสัตว์เลี้ยงเข้าพักได้ ทั่วไทย อัพเดทใหม่ๆ ตั้งแต่แบบรีสอร์ท โฮมสเตย์ ที่พักแบบธรรมชาติ จนถึงโรงแรมระดับ 5 ดาว พาหมาเที่ยวกัน

GMT+7, 2023-6-5 16:53 , Processed in 0.059605 second(s), 18 queries .

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้ Share To Facebook Share To Twitter Share To Google+ Share To ...